วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เป็นวิทยาลัยชุมชนแห่งแรกในประเทศไทย ที่จัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตร ระดับอนุปริญญา โครงการความร่วมมือระดับปริญญาตรี และโครงการความร่วมมือระดับบัณฑิตศึกษากับคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และจัดบริการวิชาการให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต จัดโครงการบริการวิชาการชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ในระยะเริ่มแรกที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2516 วิทยาลัยชุมชนภูเก็ตมีฐานะเป็นโครง การวิทยาลัยชุมชน ต่อมาวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการเป็นโครงการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต และในปี พ.ศ. 2529 มีพระราชกฤษฎีการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 6 เล่มที่ 103 ตอนที่ 198 วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 วิทยาลัยชุมชนภูเก็ตมีวิวัฒนาการด้านการจัดการศึกษามาตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2520 ดังนี้
พ.ศ. 2520 – 2538
วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ได้จัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตร (2 ปี) โดยผลิตบุคลากรผู้สำเร็จการ ศึกษาสาขาต่าง ๆ ดังนี้
สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
สาขาการเหมืองแร่ (เปิด 4 รุ่น ในช่วงปี พ.ศ.2524-2727)
สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สาขาเทคนิคการเกษตร
สาขาศิลปะประยุกต์
สาขาเทคโนโลยียาง
สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขารักษาความปลอดภัย (งดรับนักศึกษา)
พ.ศ. 2539 – 2541
ในปีการศึกษา 2539 วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ปรับหลักสูตรเป็นระดับอนุปริญญา (3 ปี) ทั้ง 6 สาขา ที่เปิดการสอนมาอย่างต่อเนื่อง และในปีเดียวกันสภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบให้วิทยาลัยฯ งดรับนัก ศึกษาระดับอนุปริญญาทุกสาขา ทั้งนี้ เพื่อการพิจารณาปรับบทบาทและรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น
พ.ศ. 2542 – 2547
ปี พ.ศ.2542 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นโครงการความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในปี พ.ศ.2545 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โครงการความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และปริญญาตรีสาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ของวิทยาลัยฯ
พ.ศ. 2548 – 2549
เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยได้ประกาศจัดตั้งคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานภายใน โดยแยกออกจากวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต พร้อมทั้งย้ายโครงการความร่วมมือผลิตบัณฑิตในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตไปอยู่กับคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และได้ตัดโอนอาจารย์ทั้งหมดและสายสนับสนุนจากวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตไปสังกัดคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ซึ่งระยะเวลานั้นวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตมีอัตรากำลังเป็นข้าราชการ จำนวน 1 อัตรา พนักงานมหาวิทยาลัย 1 อัตรา และลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 2 อัตรา
วิสัยทัศน์
วิทยาลัยชุมชนภูเก็ตเป็นศูนย์บริการวิชาการเป็นชั้นนำ ภายในปี 2565
พันธกิจ
1. สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน สังคม ผ่านเครือข่ายความร่วมมือตามแนวทางของ USE (University Social Engagement)
2. พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่
3. เป็นศูนย์กลางการสอบ วัดระดับความรู้ทางด้านวิชาการ
4. เป็นศูนย์กลางด้านการบริการวิจัยทั้งภาครัฐ และเอกชน
5. เป็นหน่วยงานสนับสนุนกลางของวิทยาเขตด้านการบริการวิชาการ
ยุทศาสตร์
ยุทศาสตร์ที่ 1
มุ่งเน้นการบริการวิชาการที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัยให้สอดคล้องกับภูมิสังคม
ยุทศาสตร์ที่ 2
สานสัมพันธ์เครือข่ายให้เข้มแข็ง และต่อเนื่อง
ยุทศาสตร์ที่ 3
ยกระดับขีดความสามารถของบริการ และการบริหารจัดการงานรวมถึงองค์กรที่ทรงประสิทธิภาพ (Powerful Back Office)
ค่านิยม
P: Professional ทำงานอย่างมืออาชีพ
C: Community Care and Responsibility ให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการ และให้ความรับผิดชอบต่อสังคม
C: Creativity มีความคิดสร้างสรรค์
ภารกิจวิทยาลัยในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต่อภารกิจของวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำหนดนโยบายให้วิทยาลัยชุมชนภูเก็ตปรับเปลี่ยนภารกิจจากการจัดการศึกษา เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานในลักษณะของการบริการวิชาการผ่านโครงการและกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนองตอบพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน อันก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา
ในช่วงปี พ.ศ.2553-2557 วิทยาลัย ได้ดำเนินการตามแนวนโยบายมหาวิทยาลัยและแผนพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พ.ศ.2555-2558)ยุทธศาสตร์ที่ 2 ภารกิจที่เชื่อมโยงเป็นระบบที่ทรงประสิทธิภาพ ด้านการบริการวิชาการ : สร้างศักยภาพการบริการวิชาการที่เปิดกว้าง เพื่อยกระดับความเข้มแข็งของชุมชน และพัฒนาระบบการเผยแพร่วิชาการออกสู่ชุมชนอย่างทั่วถึงและหรือชุมชนเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างหลากหลาย และด้านการทำนุบำรุงวัฒนธรรม : ธำรงรักษาและเสริมสร้างคุณค่าแห่งวัฒนธรรมเพื่ออนุชนรุ่นหลังและขยายผลสู่การปลูกฝังสำนึกด้านการอนุรักษ์และทำนุบำรุงวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาและประชาชน
ภารกิจวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตในปัจจุบัน
วิทยาลัยชุมชนภูเก็ตมีจุดเน้นและมีเป้าหมายการดำเนินการ ให้บริการวิชาการทั้งรูปแบบการให้เปล่าเก็บค่าลงทะเบียนเพื่อสร้างรายได้ สำหรับพัฒนาบุคลากรกลุ่มเป้าหมายภาครัฐและเอกชนรวมทั้งเยาวชนและประชนทั่วไป ดำเนินการครอบคลุมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน คือ ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง และตรัง โดยเน้นการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และการส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งด้านวัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อม
1. ด้านบริการวิชาการแก่สังคม
1.1 จัดหลักสูตรระยะสั้น จัดฝึกอบรมสัมมนาและบรรยายพิเศษ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่สังคมทางด้านต่างๆ ที่เน้นการให้ความรู้เฉพาะทางในระยะเวลาสั้นๆ ให้แก่กลุ่มบุคคลที่มีความต้องการหรือสนใจเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องที่จะอบรมสัมมนาและฟังบรรยายพิเศษ โดยเป็นการให้บริการแบบเก็บค่าลงทะเบียน แบบให้เปล่าและแบบลักษณะการว่าจ้างให้กับหน่วยงานภายนอกสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน
1.2 จัดหลักสูตรระยะสั้นที่มีความเป็นเลิศ เช่น มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางทะเล ทางทะเลและชายฝั่ง) และ มัคคุเทศก์เฉพาะ (ต่างประเทศ-เฉพาะพื้นที่) เป็นต้น
2. ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
งานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งจะทำให้วิทยาลัยมีความสัมพันธ์กับชุมชนมากขึ้น งานเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อพัฒนาประเทศโดยร่วมมือกับองค์กรภาครัฐหรือเอกชน ให้ความรู้/รวบรวม/ค้นหา/ส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยอาจจะแฝงในงานอบรมอาชีพระยะสั้น ตลอดจนสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาและเสริมสร้างเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมโดยเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยสำนักงานอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต
3. งานสัมพันธ์ชุมชน
งานสัมพันธ์ชุมชนเป็นภารกิจหนึ่งที่วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 -ปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นสายสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับชุมชน ที่วิทยาลัยฯ ต่อเชื่อม โดยเริ่มจากงานตามความต้องการของชุมชน เช่น การจัดการองค์ความรู้เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน การจัดทำแผนชุมชน การศึกษาดูงานร่วมกัน การจัดโครงการ “มัคคุเทศก์เยาวชนคนรักษ์ถิ่น” และ “ฝึกทักษะมัคคุเทศก์ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” โดยเริ่มจากพื้นที่ที่บ้านพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา และ จัดหลักสูตรนี้เพิ่มในพื้นที่ต่างๆ เช่น ท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร จังหวัดพังงา รวมถึงจัดให้เยาวชนในจังหวัดภูเก็ตด้วย การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมของชุมชนกะทู้ ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนสิงหาคม 2552 และการเข้าร่วมสนับสนุนงานเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดพังงา ตั้งแต่ปี 2552 ซึ้งขยายผลให้เกิดการสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดอันดามัน(ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง) ในปี 2558 เป็นต้น
4. งานวิจัยและพัฒนา
ดำเนินการวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการในด้านคุณภาพการให้บริการประจำปี ให้กับหน่วยงานขององค์กรปกครองท้องถิ่น ภายในจังหวัดภูเก็ต โดยเฉลี่ยปีละ 20 เรื่อง
pcc1
กรรมการนโยบายและกรรมการประจำ
รายนามคณะกรรมการนโยบายวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต
ดำรงตำแหน่ง ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ – วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๐
1.รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล ประธานกรรมการ
2.รองศาสตราจารย์ภูวดล บุตรรัตน์ รองประธานกรรมการ
3.รองศาสตราจารย์ ดร. พีระพงศ์ ทีฆสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในมหาวิทยาลัย
4.ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในมหาวิทยาลัย
5.รองศาสตราจารย์ ดร.มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในมหาวิทยาลัย
6.รองศาสตราจารย์ ดร. ปรารถนา กาลเนาวกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในมหาวิทยาลัย
7.คุณอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย
8.คุณสมบูรณ์ อัยรักษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย
9.คุณจำรัส ปิติกุลสถิตย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย
10.คุณธนู แนบเนียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย
11.ดร.กล้า สมตระกูล ข้าราชการบำนาญ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย
12.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนา เวทย์ประสิทธิ์ กรรมการและเลขานุการ
13.ดร.แสงดาว วงค์สาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
14.นางละมัย วิทยาศิริกุล ผู้ช่วยเลขานุการ
คำสั่งเเต่ตั้งกรรมการนโยบาย
รายนามคณะกรรมการประจำวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต
ดำรงตำแหน่ง ณ วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๘ – วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนา เวทย์ประสิทธิ์ ประธานกรรมการ
2. นางมณีรัตน์ บุญล้ำ กรรมการ
3. ดร.แสงดาว วงค์สาย กรรมการ
4. นายสมหมาย บุญลอย กรรมการ
5. นายธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ กรรมการ
6. ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล กรรมการ
7. รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ เครือทอง กรรมการ
8. ดร.วรวิกา วัฒนสุนทร กรรมการ
9. ดร.ภาณุวัฒน์ ภักดีอักษร กรรมการ
10. นางละมัย วิทยาศิริกุล ผู้ช่วยเลขานุการ